ลำไย เป็นไม้เขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชียถิ่นกำเนิด ในลังกา อินเดีย และสาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ หลักฐาน ปรากฎในวรรณคดีจีนในสมัยพระเจ้าเซ็งแทงของจีน เมื่อปี 1766ปีก่อนคริสกาลและจากหนังสือ RuYa ของจีนเมื่อ 110 ปี ก่อนคริสตกาล ได้มีการกล่าวถึงลำไยไว้แล้ว และชาวยุโรปได้เดินทางไปยังประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ. 1514 เขียนเรื่องราวลำไยไว้ในปี พ.ศ. 1585 แสดงว่า ลำไยมีการปลูกในจีนที่มณฑลกวางตุ้ง เสฉวน มีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลฟูเกียน ลำไยได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอินเดีย
ลังกา พม่า และประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้าสู่ประเทศอเมริกาในปลายพุทธศตวรรษที่ 25ลำไยเข้าสู่ประเทศไทย ในประเทศไทยลำไยคงแพร่เข้ามาในประเทศพร้อมๆ กับประเทศในเขตนี้ แต่ไม่ปรากฎหลักฐานที่พบเป็นต้นลำไยในสวนเก่าแก่ของ ร.อ.หลวงราญอริพล (เหรียญสรรพเสน) ที่ปลูกในตรอกจันทร์ ถนสาธุประดิษฐ์ใกล้วัดปริวาศ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นลำไยที่ขยายพันธุ์มาจากเมล็ดเพาะแสดงว่า ลำไยมีในประเทศไทยมาก่อนแล้ว และมีการพัฒนาพันธุ์ตามลำดับตามสภาพภูมิอากาศ ต่อมา... พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ได้นำลำไยมาจากกรุงเทพฯขยายพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่ จากนั้น ขยายพันธุ์
ไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ในล้านนา โดยการเพาะเมล็ดจนเกิดการแปรพันธุ์ (Mutation) เกิดพันธุ์ใหม่ตามสภาพคุณลักษณะที่ดีของภูมิอากาศ เหมาะสมและเกื้อกูลต่อการเจริญเติบโตของลำไย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดลำพูน มีสภาพภูมิประเทศดี มีลุ่มแม่น้ำใหญ่หลายสาย จนเกิดลำไยต้นหมื่นที่บ้านหนองช้างคืน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ลำไยเมืองลำพูน เมื่อปี 2511 ลำไยต้นเดียว สามารถขายได้เป็นหมื่นบาท ผลิตผลต่อตัน ได้ถึง40-50 เข่ง พัฒนาการของลำไยในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะจังหวัดลำพูน ถ้านับจากการเสด็จกลับล้านนาครั้งแรกของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเมื่อปี 2457 จนถึงลำไยต้นหมื่นที่หนองช้างคืน เมื่อปี พ.ศ. 2511 พัฒนามาร่วม60 ปี และถ้านับถึงปีปัจจุบัน มีการพัฒนาพันธุ์ร่วม 100 กว่าปีแล้ว และปัจจุบันลำไยมีมาก หลากหลายพันธุ์ได้แก่ พันธุ์ดอ เบี้ยวเขียว ชมพู แห้วและพันธุ์อื่นๆ อีกมากมายปัจจุบันจังหวัดลำพูน มีพื้นที่ปลูกลำไยประมาณ 271,040 ไร่เกษตรกร จำนวน 32,889 ราย มูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท
|